หนี้ นี้คืออะไร

เรื่องหนี้เป็นเรื่องใหญ่ เพราะการก่อหนี้เป็นการสร้างภาระและหน้าที่ขึ้น ดังนั้น การเป็นหนี้จึงไม่ได้มีหมายความแค่การต้องชำระเงินเท่านั้น แต่การเป็นหนี้นั้นยังมีความหมายมีมาก

หนี้ไม่ใช่เรื่องของเงินอย่างเดียว คำว่า หนี้แปลตรงตัวว่า หน้าที่ที่ต้องทำ ตามความเข้าใจของนักกฏหมายแปลว่าหน้าที่ใช้ภาษาอังกฤษว่า Obligation คือ หน้าที่ที่ต้องทำไม่เกี่ยวเพียงเรื่องเงินอย่างเดียว บ่อเกิดความเป็นหนี้ทางกฏหมายมีอยู่ 2 เหตุด้วยกัน เหตุแรกคือ นิติกรรมสัญญา เหตุที่สอง คือ นิติเหตุ

นิติ แปลว่า ทางกฏหมาย

กรรม แปลว่า การกระทำ

นิติกรรม แปลว่า การกระทำที่มีผลทางกฏหมาย เช่น คนๆหนึ่งต้องการไปยืมเงินจากคนอีกคนหนึ่ง ฝ่ายที่เป็นผู้ให้ยืม เราเรียกว่า “เจ้าหนี้”  ฝ่ายที่ยืมเงินเราเรียกว่า “ลูกหนี้” เพราะฉะนั้น นิติกรรม ก็คือ การที่ลูกหนี้ ไปขอยืมเงินการเจ้าหนี้และเจ้าหนี้ตกลงที่จะให้ยืมเงินไป เป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ เราก็ต้องมาดูว่า

1.เรื่องของสถานที่ทำสัญญา ว่าทำที่ไหน สถานที่นี้เกี่ยวข้องตรงที่เป็นเรื่องของขอบเขตอำนาจศาล ในการที่จะบังคับเมื่อไม่มีการปฏิบัติตามสัญญานี้

2.วันที่  วันที่ในการยืมเงินจะได้รู้ว่าการยืมเงินเริ่มต้นเมื่อไหร่แต่ว่าสภาพการเป็นหนี้ยังไม่เกิดขึ้น จะเกิดขึ้นต่อเมื่อ เงินที่ตกลงจะยืมกันได้มีการรับเงินไปแล้ว เช่น ทำสัญญากันวันที่ 1 มกราคม 2567 แต่มีการส่งมอบเงินกันวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 ดังนั้น ระยะเวลาตามสัญญาจึงเริ่มเดินในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 เป็นต้น

3.ใครเป็นคนก่อให้เกิดนิติกรรมฉบับนี้ ใครเป็นผู้ให้กู้ ใครเป็นคนกู้ จำนวนเงินเท่าไหร่ และได้รับเงินในวันที่ส่งมอบกันไว้ เช่น สัญญากันวันที่ 1 มกราคม แต่ยังไม่มีการส่งมอบเงิน ก็แค่ให้รู้ไว้ว่ามีการตกลงกันไว้เมื่อไหร่ แต่สภาพของการเป็นหนี้ยังไม่เริ่มนับ จะเริ่มก็เมื่อมีการให้เงินในสิ่งที่ยืมกันเรียบร้อยแล้ว

อันนี้เรียกว่าหนี้เงิน เป็นเรื่องหนึ่งของการเป็นหนี้ที่เกิดจากนิติกรรม

 

นิติเหตุ เป็นเรื่องของการกระทำของบุคคล อาจจะฝ่ายเดียว หรือสองฝ่ายก็ได้ที่มีความประสงค์ที่จะให้เกิดความสัมพันธ์ในทางกฏหมายเกิดขึ้น แบ่งออกเป็น 4 อย่าง คือ

ก.ละเมิด คือ การที่บุคคลคนหนึ่งไปทำความเสียหายแก่ร่างกายหรือจิตใจแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง ก็ต้องมีภาระหน้าที่ ที่จะต้องไปจัดการเพื่อให้ความเสียหายลดถอน บรรเทาลง หรือถ้าไม่สามารถทำได้ก็ต้องรับผิดในทางละเมิด

ข. ลาภมิควรได้ คือ ไม่ได้มีสิทธิ์ตามกฏหมายที่จะได้อะไรขึ้นมาแล้วอยู่ๆทำให้เราเกิดสิทธิ์ได้สิ่งนั้นมา เพราะฉะนั้นในทางกฏหมายก็คืนไป ซึ่งสิทธิ์ที่ได้มาจากวิธีการไม่ได้ตั้งใจจะให้เกิดขึ้น

ค.จัดการงานนอกสั่ง คือ ตกลงที่จะรับทำงานอย่างหนึ่งรับมอบอำนาจให้ทำงานอย่างหนึ่ง แต่ว่าไปจัดการเกินกว่าที่เขามอบหมายให้ไปทำ ดังนั้น อะไรก็ตามที่ทำเกินไปมันก็ต้องมาดูว่ามีสิทธิ์ที่จะสามารถทำได้ไหม แล้วทำไปเกินสมควรหรือเปล่า ส่วนที่เกินสมควรไปมีเจตนาไหม ถ้าไม่มีเจตนาก็อาจไม่ต้องรับผิด แต่ถ้ามีเจตนาทำให้เกินกว่ามีหน้าที่ต้องทำ อันนี้ ก็ต้องมาว่ากันตามกฏหมาย

ง.ความสัมพันธ์ของบุคคล เช่น การเป็นบิดามารดาโดยชอบตามกฏหมาย ก็ต้องมีหน้าที่ในการจะเลี้ยงดูบุตร ดูแล อบรม เลี้ยงดูให้เขาเติบโดจนกว่าจะบรรลุนิติภาวะ เพราะฉะนั้น กฏหมายกำหนดบทบาทให้กับการเป็นพ่อแม่ หรือการเป็นผู้ปกครองตามกฏหมายมีหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการอย่างใดๆก็ตาม เพื่อที่จะชดใช้ค่าเสียหายให้กับบุคคลที่บุตรของตัวเองไปกระทำผิดต่อ ซึ่งก็มีตัวอย่างหลากหลายมากมาย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save